Quantcast
Channel: Citrix – TechTalkThai
Viewing all 69 articles
Browse latest View live

รู้จัก Citrix NetScaler: เข้าถึง Application อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ตอบโจทย์ Application องค์กรได้ทุกรูปแบบ

$
0
0

ทุกวันนี้ Business Application นั้นได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานของแทบทุกองค์กรไปแล้ว และก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า Application เหล่านี้ก็มีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งกว่าแต่ก่อนตามไปด้วย การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบโดยรวมเพื่อให้พนักงานภายในองค์กรสามารถเข้าถึง Application ต่างๆ ในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ นั้นจึงกลายเป็นความท้าทายของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน และในบทความนี้ก็จะแนะนำถึงเทคโนโลยีของ Citrix NetScaler เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้นั่นเอง

 

รู้จัก Citrix NetScaler กันก่อน

Citrix นั้นเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน IT สำหรับองค์กรมาอย่างยาวนาน และมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้การทำงานขององค์กรนั้นเกิดขึ้นได้จากทุกที่ทุกเวลาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยมีโซลูชันที่โดดเด่นด้วยกัน 4 ด้าน ได้แก่

  • Application Delivery Controller (ADC)
  • Application Virtualization และ VDI
  • Enterprise Mobility Management (EMM)
  • File Sync & Sharing (EFSS)

โดย Citrix NetScaler นี้เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Application Acceleration ที่จะมาช่วยให้การเข้าถึง Application และ Data ภายในองค์กรนั้นมีความมั่นคงปลอดภัย, มีความเสถียร, มีความเร็วเพิ่มขึ้น และบริหารจัดการ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ ได้ง่าย และรองรับ Application สถาปัตยกรรมใหม่ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะแนวคิด Hybrid Cloud และ Multi-cloud ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อตลาดองค์กรเป็นอย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคตนั่นเอง

สำหรับโซลูชั่นเด่นๆ ภายในผลิตภัณฑ์ตระกูล Citrix NetScaler นั้น มีด้วยกัน 3 โซลูชันดังต่อไปนี้

 

1. Citrix NetScaler ADC: ระบบ Application Delivery Controller สำหรับ Application ทุกรูปแบบ


Citrix NetScaler ADC นี้เป็นระบบ Application Delivery Control (ADC) ที่จะช่วยให้การเข้าถึงทุก Application สะดวกขึ้น, มีความเร็วเพิ่มขึ้น และความปลอดภัยสูงขึ้น โดยรองรับความสามารถต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ทำหน้าที่เป็น L4-L7 Load Balancing ได้ในตัว ช่วยให้ Application ต่างๆ สามารถทำการเพิ่มขยายและเสริมความทนทานได้ง่าย โดยเฉพาะสำหรับ Application ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices และรองรับการทำ DevOps ได้เป็นอย่างดี
  • สามารถทำ Global Server Load Balancing (GSLB) ได้ ทำให้สามารถออกแบบระบบที่มีการทำ High Availability / Disaster Recovery ข้ามสาขาได้ รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึง Application ในกรณีที่มีต้องรองรับผู้ใช้งานจากต่างประเทศหรือต่างทวีปทั่วโลกได้ดีขึ้น
  • สามารถทำ SSL Acceleration ช่วยให้การเข้ารหัสข้อมูลสำหรับ Application ต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นได้
  • ตอบโจทย์การทำ Multi-cloud สำหรับ Application ที่มีการ Deploy ไปยังบริการ Cloud ของผู้ให้บริการหลายรายพร้อมๆ กันได้
  • สามารถช่วยให้องค์กรทำ Hybrid Cloud ได้ง่ายขึ้น ทำให้ Application ต่างๆ สามารถติดตั้งใช้งานบน On-premises หรือ Cloud ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งาน
  • ช่วยลดต้นทุนให้กับเหล่า Internet Service Provider (ISP) และ Mobile Operator Network ได้ดีขึ้น ด้วยการทำ TCP Optimization, Video Optimization และ CGNAT รวมถึงยังรองรับการติดตั้งแบบ Network Function Virtualization (NFV) ได้
  • เสริมความมั่นคงปลอดภัยขั้นต้นให้กับเหล่า Application ด้วยความสามารถในการทำ Web Application Firewall (WAF) และ DDoS Protection ในตัว รวมถึงมีวิธีการยืนยันตัวตนแบบพิเศษ และการตรวจจับภัยคุกคามในเชิงลึกเพิ่มเติม
  • สามารถติดตั้งใช้งานบน Microsoft Azure และ Amazon Web Services (AWS) ได้ ทำให้การเข้าถึง Application ขององค์กรบนบริการ Cloud เหล่านี้มีประสิทธิภาพ, ความมั่นคงปลอดภัย และความทนทานที่สูงขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.citrix.com/products/netscaler-adc/

 

2. Citrix NetScaler Unified Gateway: ระบบ SSL-VPN อเนกประสงค์ ความปลอดภัยสูง ตอบโจทย์การเชื่อมต่อระยะไกล

 

 

สำหรับ Citrix NetScaler Unified Gateway นี้คือเทคโนโลยี SSL-VPN ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นตอบโจทย์ด้านการเชื่อมต่อระยะไกล (Remote Access) ที่ง่ายดายและมั่นคงปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบ ที่จะช่วยให้ทุกๆ การเข้าถึง Application และข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรนั้นมีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น, ตรวจสอบย้อนหลังได้ง่ายขึ้น และการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ในองค์กรสามารถทำได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยมีความสามารถดังต่อไปนี้

  • รองรับการทำ SSL-VPN ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงทุกๆ Application, Software as a Service (Saas), Virtual Desktop และ Data ที่ตนเองมีสิทธิ์ได้ผ่านทาง Web Portal ที่มีการเข้ารหัสและการยืนยันตัวตน รวมถึงการจัดเก็บ Log ในการเข้าใช้งานได้จากหน้าจอเดียว ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องสับสนกับวิธีการเข้าใช้งาน Application ต่างๆ ที่มีจำนวนมากทั้งภายในองค์กรและจากบริการ Cloud ต่างๆ ที่เช่าใช้งาน
  • สามารถทำ Single Sign-on (SSO) เพื่อให้ผู้ใช้งานทำการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว และสามารถเข้าถึง Application ต่างๆ ที่ตนเองมีสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องทำการยืนยันตัวตนซ้ำอีก
  • รองรับการทำ Two-factor Authentication ด้วยการยืนยันตัวตนเพิ่มเติมผ่านเงื่อนไขต่างๆ เช่น One-time Password (OTP), Hardware Token, Mobile Token และวิธีการอื่นๆ เพื่อเสริมความปลอดภัยในการเข้าถึง Application และ Data ภายในองค์กร
  • สามารถตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อใช้งาน และบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เช่น การติดตั้งระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนเครื่องปลายทาง หรือการอัปเดต Patch ได้

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.citrix.com/products/netscaler-unified-gateway/

 

3. Citrix NetScaler SD-WAN: สร้างระบบ SD-WAN ประสิทธิภาพ ตอบทุกโจทย์การเชื่อมต่อ Internet และเครือข่ายขององค์กร

 

Citrix NetScaler SD-WAN นี้เป็นโซลูชัน Software-defined WAN (SD-WAN) ที่รวมเทคโนโลยีอันหลากหลายซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน พร้อมทั้งยังสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างสาขาขององค์กรได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายลง ด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

  • มีการทำ WAN Optimization ได้ในตัว ทำให้ช่วยลดปริมาณทราฟฟิกระหว่างการเชื่อมต่อเครือข่ายในแต่ละสาขา ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายขององค์กรลงได้
  • มีเทคโนโลยี Link Load Balancing (LLB) ด้วยการใช้ Real-time Path Selection ในระดับ Packet ทำให้ประสบการณ์การใช้งานหรือเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ บน Internet ของผู้ใช้งานเป็นไปได้อย่างไหลลื่นไม่ติดขัด เหนือกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ อย่างชัดเจน
  • มีความสามารถในการทำ Edge Routing ในตัว ช่วยให้การเข้าถึงระบบต่างๆ ภายในเครือข่ายระหว่างสาขาเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่น ปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ดูแลระบบเครือข่าย
  • มีการทำ Stateful Firewall ในตัว เสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายเพิ่มอีกชั้น
  • มีเทคโนโลยี QoS ที่จะช่วยจัดอันดับความสำคัญในการเข้าถึงบริการต่างๆ ได้
  • สามารถเชื่อมต่อ WAN ระหว่างสาขาได้ด้วยการเข้ารหัสและการทำ Link Load Balancing ด้วยการใช้วิธีการเชื่อมต่อหลากหลายรูปแบบรวมกัน ทำให้องค์กรมีทางเลือกในการเช่าใช้เครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างสาขาที่ประหยัดลงได้
  • สามารถติดตั้งใช้งานบนบริการ Cloud อย่าง Microsoft Azure และ Amazon Web Services (AWS) ได้ ทำให้สามารถเชื่อมต่อระบบ Private Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.citrix.com/products/netscaler-sd-wan/

 

Citrix NetScaler ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างไรบ้าง

การใช้งานโซลูชัน Citrix NetScaler จะช่วยให้องค์กรที่ต้องใช้งาน Application ต่างๆ ในการทำงาน สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ดังนี้

 

1. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น

ด้วยความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเหล่า Application ทั้งการทำ TCP Acceleration, SSL Acceleration, Load Balancing รวมถึงทำให้การเข้าถึง Application ต่างๆ ง่ายดายขึ้นด้วยการทำ SSL-VPN และ Single Sign-on ของ Citrix NetScaler นี้ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application ในการทำงานได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายจากทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ ลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาระบบ Application ทำงานช้าเนื่องจากประเด็นด้านระบบเครือข่าย และแก้ไขปัญหาการที่ผู้ใช้งานลืมรหัสผ่านหรือวิธีการเข้าใช้ Application ของตนได้เป็นอย่างดี

 

2. Application ต่างๆ ได้รับการปกป้องให้มีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

โซลูชันของ Citrix NetScaler นี้มาพร้อมกับเทคโนโลยีในการรักษาความมั่นคลอดภัยที่หลากหลาย และสามารถตรวจจับภัยคุกคามต่างๆ ในเชิงลึกได้ ทำให้สามารถเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับ Application ขององค์กรได้ในตัว อีกทั้ง Citrix NetScaler ยังเป็นหน้าด่านที่ทำให้เหล่าผู้ประสงค์ร้ายไม่สามารถเข้าถึงเครื่องแม่ข่ายขององค์กรได้โดยตรง ทำให้การโจมตีไปยัง Application Server หรือระบบ IT ที่อยู่เบื้องหลังอื่นๆ นั้นเป็นไปได้ยาก

 

3. เพิ่มความทนทานในการเชื่อมต่อเครือข่ายและการเข้าถึงระบบ Application ขององค์กรให้สูงขึ้น

ด้วยความสามารถในการทำ Load Balancing ในหลากหลายรูปแบบ พร้อมเทคโนโลยีการทำ Application Health Check และ Real-time Path Selection ของ Citrix NetScaler นี้เอง ก็ทำให้การเชื่อมต่อเครือข่ายและการเข้าถึงระบบ Application ขององค์กรนั้นมีเสถียรภาพสูงยิ่งขึ้น  ง่ายต่อการออกแบบระบบให้มีการทำงานได้ในแบบ High Availability (HA) และการทำ Disaster Recovery (DR)

 

4. ลดต้นทุนด้านระบบเครือข่ายขององค์กรลง

Citrix NetScaler สามารถลดต้นทุนด้านระบบเครือข่ายขององค์กรได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการบีบอัดทราฟฟิกเครือข่ายให้มีขนาดเล็กลงสำหรับแต่ละ Application ก็สามารถช่วยลดต้นทุนด้าน Bandwidth สำหรับ Application เหล่านั้นได้, การทำ WAN Optimization ก็สามารถช่วยลดต้นทุนระบบเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างสาขาของงองค์กรได้ อีกทั้งการทำ Link Load Balancing สำหรับการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสระหว่างสาขาเองนี้ ก็ช่วยให้องค์กรมีทางเลือกในการลงทุนด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาในราคาที่คุ้มค่ายิ่งกว่าเดิมได้

 

5. รองรับสถาปัตยกรรมแห่งอนาคต เช่น Multi-cloud, Hybrid Cloud และ Application-centric ได้ดีขึ้น

Citrix NetScaler ถูกออกแบบมาให้รองรับสถาปัตยกรรมแห่งอนาคตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Multi-cloud สำหรับให้องค์กรสามารถเลือกใช้บริการ Cloud ใดๆ ก็ได้อย่างอิสระ, Hybrid Cloud ที่จะเปิดให้องค์กรสามารถย้าย Application ระหว่าง Data Center ขององค์กรกับ Cloud ได้ตามต้องการ รวมถึงยุคของ Application-centric ที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ก็ตาม

 

ผู้ที่สนใจ Citrix NetScaler สามารถติดต่อทีมงาน AVNET ได้ทันที

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนโซลูชั่น Citrix หรือติดต่อให้ทีมงาน AVNET เพื่อนำเสนอ ให้คำปรึกษา และทดสอบระบบได้ทันที โดยสามารถติดต่อ คุณธิดาทิพย์ และ คุณเอกวิทย์
โทร 02 651 9495-6, 064 181 4098 หรือส่งอีเมล์ไปที่ AvnetTH.marketing@avnet.info

The post รู้จัก Citrix NetScaler: เข้าถึง Application อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ตอบโจทย์ Application องค์กรได้ทุกรูปแบบ appeared first on TechTalkThai.


Citrix จับมือ Google รองรับการใช้งาน Workspace Service และ Netscaler บน Google Cloud Platform

$
0
0

Citrix จับมือ Google รองรับการใช้งาน Workspace Service และ Netscaler บน Google Cloud Platform

Credit: ShutterStock.com

การประกาศความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการผสานเอาจุดเด่นของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน ช่วยให้องค์กรที่กำลังมองหาโซลูชัน Workspace บน Public Cloud และ Hybrid Cloud สามารถเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่ง Citrix Workspace Services จะรองรับการทำงานบน Google Cloud Platform (GCP) โดยมีการเพิ่มส่วน Integration ระหว่าง ShareFile และ G Suite เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งาน NetScaler CPX บน GCP ช่วยตอบโจทย์นักพัฒนาที่ใช้งาน Kubernetes อีกด้วย ซึ่งการประกาศความร่วมมือในครั้งนี้ มีรายละเอียดดังนี้

  • Citrix Workspace Services รองรับการทำงานบน Google Cloud Platform
  • Netscaler CPX รองรับการทำงาน Google Cloud Platform ช่วยให้นักพัฒนาสามารถใช้งาน Application Load balancing และ Microservices ของ Netscaler บน GCP ได้ โดยจะเปิดให้ใช้งานภายใน Q3 ปี 2017
  • ShareFile รองรับการเชื่อมต่อเข้ากับ G Suite และเพิ่ม Google Drive Connector ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการส่งไฟล์ผ่าน Gmail
  • ปรับปรุง Citrix Receiver สำหรับ Chrome และ Android เช่น รองรับ Multi-Monitor บน Chrome
  • เตรียมผลักดันโซลูชันอื่นๆที่ทำงานร่วมกับ Google เพิ่มเติม โดยจะมีการประกาศเปิดตัวอีกครั้งในงาน Citrix Summit ที่จะจัดขึ้นในเดือนมกราคม ปี 2018

ที่มา : https://www.citrix.com/blogs/2017/07/20/google-citrix-extend-alliance-to-support-secure-cloud-transformation-for-the-enterprise/

The post Citrix จับมือ Google รองรับการใช้งาน Workspace Service และ Netscaler บน Google Cloud Platform appeared first on TechTalkThai.

สรุปคำแนะนำและแพตช์สำหรับ Meltdown และ Spectre จาก Vendors รายต่างๆ

$
0
0

หลังจากที่ Google Project Zero ออกมาแจ้งเตือนถึงช่องโหว่ร้ายแรง 2 รายการ คือ Meltdown และ Spectre บน CPU เกือบทุกรุ่น ซึ่งช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถขโมยข้อมูล เช่น รหัสผ่าน รูปภาพ อีเมล หรือเอกสารสำคัญ ออกไปได้ ล่าสุด ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ออกให้คำแนะนำและอัปเดตแพตช์ผลิตภัณฑ์ของตน ดังนี้

Meltdown และ Spectre คืออะไร

Meltdown (CVE-2017-5754) และ Spectre (CVE-2017-5753, CVE-2017-5715) เป็นช่องโหว่ฟีเจอร์ Speculative Execution บน CPU ของทั้ง Intel, ARM และ AMD ซึ่งช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถขโมยข้อมูลที่กำลังประมวลอยู่ในหน่วยความจำได้ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านที่เก็บไว้บน Password Manager หรือ Browser รูปภาพ อีเมล ข้อความแชต ไฟล์เอกสาร และอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีสิทธิ์สูงอย่างที่ควรจะเป็นก็ตาม

รับมือกับช่องโหว่ Meltdown และ Spectre ได้อย่างไร

Google Project Zero ระบุว่า การอุดช่องโหว่ Meltdown และ Spectre นั้นจำเป็นต้องออกแพตช์ทั้งระดับเฟิร์มแวร์ของ CPU, ซอฟต์แวร์ของ OS และแอปพลิเคชัน จนถึงตอนนี้พบว่า Linux macOS และ Android ออกแพตช์สำหรับอุดช่องโหว่เป็นที่เรียบร้อย ส่วน Microsoft ก็ได้ออกแพตช์เร่งด่วนมาเมื่อวานนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม แพตช์ที่ออกมาส่วนใหญ่จะแก้ปัญหา Meltdown เท่านั้น สำหรับ Spectre นั้นแก้ไขได้ยากมาก จำเป็นต้องรอต่อไป

สำหรับ Vendor ที่ออกคำแนะนำและแพตช์เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้

Windows OS (7/8/10) และ Microsoft Edge/IE

Microsoft ออกแพตช์เร่งด่วนสำหรับอุดช่องโหว่ Meltdown บน Windows 10 เมื่อวานนี้ (KB4056892) และเตรียมออกแพตช์สำหรับ Windows 7 และ 8 ใน Patch Tuesday วันอังคารหน้า อย่างไรก็ตาม แพตช์ดังกล่าวอาจมีปัญหากับโปรแกรม Antivirus หลายๆ ยี่ห้อจนถึงขั้นทำให้เกิดจอฟ้า แนะนำให้ปิดและใช้ Windows Defender หรือ Microsoft Security Essentials ก่อนชั่วคราว

Apple macOS, iOS, tvOS และ Safari Browser

Apple ระบุใน Advisory ว่า อุปกรณ์ Mac และ iOS ทั้งหมดได้รับผลกระทบ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่พบ Exploit ที่ใช้โจมตี สำหรับแพตช์ Apple ได้ออก iOS 11.2, macOS 10.13.2 และ tvOS 11.2 สำหรับอุดช่องโหว่ Meltdown แล้ว ส่วนแพตช์สำหรับจัดการกับ Spectre บน Safari นั้น จะเปิดให้ดาวน์โหลดเร็วๆ นี้

Android OS

Google ระบุว่า ผู้ใช้ Android (Nexus และ Pixel) ที่ทำการอัปเดตแพตช์ประจำเดือนมกราคมจะได้รับการปกป้องจากการโจมตีผ่านช่องโหว่ดังกล่าว ส่วนผู้ใช้ Android ยี่ห้ออื่นให้รอแพตช์จากทาง Vendor ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ดาวน์โหลดเร็วๆ นี้ ส่วน Android ที่ใช้ ARM จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่าได้รับผลกระทบจาก Meltdown และ Spectre หรือไม่

Firefox Web Browser

Mozilla อัปเดต Firefox เวอร์ชัน 57.0.4 ซึ่งมีการอุดช่องโหว่ Meltdown และ Spectre เรียบร้อย แนะนำให้ผู้ใช้ Firefox อัปเดตเบราว์เซอร์เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันที

Google Chrome Web Browser

Google เตรียมออกแพตช์สำหรับอุดช่องโหว่ในวันที่ 23 มกราคมนี้ ซึ่งช่วยปกป้อง PC และ Smartphone จากการโจมตีผ่านทางเว็บ สำหรับตอนนี้แนะนำให้ผู้ใช้เปิดใช้งานฟีเจอร์​ Site Isolation สำหรับปกป้องการโจมตีไปพลางๆ ก่อน แต่ฟีเจอร์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้งาน

Linux Distributions

ทีมนักพัฒนา Linux Kernel ได้ออกแพตช์สำหรับอุดช่องโหว่บนเวอร์ชัน 4.14.11, 4.9.74, 4.4.109, 3.16.52, 3.18.91 และ 3.2.97 เป็นที่เรียบร้อย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ Kernel.org

VMware และ Citrix

VMware ออกแพตช์สำหรับอุดช่องโหว่ Meltdown บนผลิตภัณฑ์ ESXi, Workstation และ Fusion เป็นที่เรียบร้อย ในขณะที่ Citrix นั้น ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ ยกเว้น NetScaler SDX และ XenServer แต่อาจจำเป็นต้องมีการอัปเดตแพตช์สำหรับ 3rd Party เพื่อความมั่นคงปลอดภัย

Cisco

Security Advisory ของ Cisco ระบุว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่พบว่ามีผลิตภัณฑ์ใดที่ได้รับผลกระทบต่อช่องโหว่ทั้ง 2 รายการ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่กำลังตรวจสอบอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ กลุ่ม Cloud Services Platform, กลุ่ม Router ASR, NCS, Nexus และกลุ่ม UCS B และ C-Series ซึ่งถ้าค้นพบว่าผลิตภัณฑ์ใดได้รับผลกระทบก็จะรีบออกแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่ทันที

ที่มา: https://thehackernews.com/2018/01/meltdown-spectre-patches.html

The post สรุปคำแนะนำและแพตช์สำหรับ Meltdown และ Spectre จาก Vendors รายต่างๆ appeared first on TechTalkThai.

รวมคลิปวีดีโองาน Welcome To Citrix Distributor Announcement for M.Tech and Secure Digital Workspace

$
0
0

เมื่อวัน 22 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศการหวนกลับมาร่วมมือกันอีกครั้งระหว่าง Citrix และ M.Tech โดยในครั้งนี้มาพร้อมกับโซลูชันมากมายแต่จะเป็นอย่างไรกันบ้าง ต้องไปติดตามชมในวีดีโอนะครับ

ช่วง Keynote บรรยายโดยคุณ กฤษณา เขมากรณ์, Country Manager บริษัท M.Tech ครับ

 

We’re back. Citrix ร่วมมือกับ M.Tech ประกาศผลักดันตลาด Digital Workspace ร่วมกัน

 

The post รวมคลิปวีดีโองาน Welcome To Citrix Distributor Announcement for M.Tech and Secure Digital Workspace appeared first on TechTalkThai.

M.Tech กลับมาขาย Citrix อีกครั้ง เตรียมดัน NetScaler ตอบโจทย์ Multi-Cloud สำหรับองค์กร

$
0
0

เมื่อต้นปี 2018 ที่ผ่านมา ทาง M.Tech และ Citrix ได้ประกาศความเป็นพันธมิตรร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ให้ M.Tech ได้กลับมาเป็น Distributor ให้กับ Citrix และผลักดันตลาดของ Citrix ให้เติบโตยิ่งขึ้นในฐานะเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยให้ภาพ Multi-Cloud ขององค์กรเป็นจริงขึ้นมาได้

 

M.Tech กลับมาเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ Citrix อีกครั้ง

 

 

ก่อนหน้านี้เราคงจะคุ้นเคยกันดีว่า M.Tech นั้นเป็น Distributor ให้กับ Citrix มาตั้งแต่ปี 2007 และช่วยผลักดันโซลูชันด้าน Application Delivery Controller (ADC) หรือที่สมัยก่อนยังคงเรียกกันว่า Load Balancer (LB) อย่าง Citrix NetScaler ที่ทาง Citrix เข้าซื้อกิจการมาตั้งแต่ปี 2005 และค่อยๆ ขยับขยายมาผลักดันโซลูชันอื่นๆ ของ Citrix จนครบทุกผลิตภัณฑ์ในช่วงปี 2012 ก่อนที่ M.Tech จะยุติการเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับ Citrix ไปเมื่อปี 2016 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ด้านธุรกิจของทาง Citrix เอง

ในแต่ปี 2018 นี้ ทาง Citrix ก็ได้กลับมาแต่งตั้ง M.Tech ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับ Citrix อีกครั้งหนึ่ง ด้วยความที่ทีมงานของ M.Tech นั้นมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านโซลูชันและเทคโนโลยีต่างๆ ของ Citrix เป็นอย่างดี รวมถึงยังมีประสบการณ์ด้านการ Integrate ระบบต่างๆ ของ Citrix เข้ากับเทคโนโลยีของผู้ผลิตรายอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการนำเสนอโซลูชันของ Citrix

การกลับมาจับมือกันในครั้งนี้ของ M.Tech และ Citrix ก็ถือว่าเป็นช่วงที่ได้จังหวะพอดี เพราะจังหวะนี้แนวโน้มของ Multi-Cloud กำลังมาแรงในตลาดองค์กรพอดี และการนำเสนอโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ Multi-Cloud นี้ก็ถือเป็นโซลูชันที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านเทคนิคในเชิงลึกทั้งจากฝั่งของผลิตภัณฑ์ Citrix และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อทำให้โซลูชันเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย ซึ่ง M.Tech ก็ถือเป็นพาร์ทเนอร์รายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการขยายตลาดของ Citrix ในยามนี้แล้ว

 

Secure Digital Workspace: ตลาดหลักที่ M.Tech และ Citrix จะร่วมกันจับมือผลักดันในปี 2018

 

 

ที่ผ่านมา Cloud ถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเหล่าองค์กร ทั้งในแง่ของการเติมเต็มความต้องการในฝั่ง Data Center และการเข้ามาทดแทน Application แบบเดิมๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกมากขึ้น แต่ความนิยมเหล่านี้เองก็ได้สร้างปัญหาทางอ้อมให้กับองค์กรเอง เนื่องจากทำให้เหล่าองค์กรมี Application และ Data ที่กระจัดกระจายอยู่บนบริการ Cloud ที่หลากหลาย ยากต่อการควบคุม ไม่ว่าจะเป็น Application สำเร็จรูปบน Software-as-a-Service (SaaS) หรือ Application ที่องค์กรพัฒนาขึ้นมาเองและติดตั้งใช้งานอยู่ภายใน Data Center ขององค์กรหรือบริการ Cloud ในกลุ่ม Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ของผู้ให้บริการชั้นนนำอย่าง AWS, Microsoft Azure หรือ Google Cloud Platform (GCP) ก็ตาม

ในปี 2018 นี้ แนวโน้มของการที่เหล่าองค์กรจะต้องเริ่มมองหาหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้ Cloud ที่หลากหลายจนยากต่อการบริหารจัดการ ทาง Citrix จึงได้พัฒนาโซลูชันทางด้าน Multi-Cloud Management เพื่อรับมือกับปัญหาการใช้งาน Application, การเข้าถึง Data ในการทำงาน และการใช้บริการ SaaS ที่หลากหลายของผู้ใช้งานและยากต่อการควบคุมนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมีพื้นที่ทำงานบนโลก Digital กลางเพียงพื้นที่เดียว เข้าถึงได้ด้วยการใช้งาน Username และ Password เดียว และควบคุมสิทธิ์การใช้งานและติดตามตรวจสอบพฤติกรรมอันอาจเป็นภัยคุกคามได้จากศูนย์กลาง ซึ่งโดยรวมแล้วโซลูชันนี้ก็มีชื่อเรียกว่า Secure Digital Workspace นั่นเอง

หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ภายในโซลูชันของ Secure Digital Workspace จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • Application Portal พร้อม Single Sign-On (SSO) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application, PC/Notebook, File Sharing, SaaS ได้จากศูนย์กลางในหน้าเดียวด้วย Username และ Password เดียว อาจมีการเพิ่ม Two-factor Authentication เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยได้
  • ระบบ Bring Your Own Device (BYOD) ช่วยตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการทำงาน และสามารถบริหารจัดการหรือควบคุมได้จากระยะไกลเพื่อให้ง่ายต่อการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาโดยผู้ดูแลระบบ
  • ระบบ Application ด้าน Productivity ซึ่งรวมถึงระบบ Contact, Email, Chat และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  • มีการทำ Compliance ตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าใช้งาน Application และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ
  • มีระบบ IT Infrastructure ที่รองรับการให้บริการ Secure Digital Workspace สำหรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้เป็นอย่างดี เช่น Virtualization, Desktop Virtualization, Application Virtualization, SD-WAN, Web Application Firewall และอื่นๆ เพิื่อเสริมทั้งประสิทธิภาพ, ความทนทาน, ความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงยังสามารถติดตั้งใช้งานบนผู้ให้บริการ IaaS ชั้นนำทั่วโลกได้หลากหลายราย

ปัจจุบันเทคโนโลยีของ Citrix สามารถตอบโจทย์ Secure Digital Workspace ได้อย่างครบถ้วนในหนึ่งเดียว อีกทั้งองค์กรเองก็ยังมีทางเลือกที่จะนำโซลูชันจากผู้ผลิตรายอื่นๆ มาผสานรวมใช้งานในบางส่วน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันไปของแต่ละองค์กรหรือแต่ละแผนกได้ และในอนาคตหากองค์กรต้องการย้ายผู้ให้บริการ Cloud ไปใช้งานกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ก็สามารถย้ายไปใช้งานผู้ให้บริการรายนั้นๆ ได้ทันทีตามต้องการ ทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานยังคงเหมือนเดิมอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ Cloud รายใดก็ตาม

 

มีอิสระในการเลือกใช้ Cloud: ปลายทางของการตอบโจทย์ Multi-Cloud อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวโน้มหนึ่งที่ Citrix มองเห็นว่าเป็นโอกาสนั้นก็คือการเติบโตของการใช้บริการ Cloud ในระดับองค์กรทั้งในฝั่งของ IT Infrastructure และฝั่งของผู้ใช้งานที่หันไปใช้บริการ SaaS ที่นับวันจะยิ่งเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สุดท้ายแล้วทุกองค์กรก็ต้องก้าวไปสู่กลยุทธ์ Multi-Cloud อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผ่านมา Citrix จึงพยายามทุ่มเทพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถเปิดรับต่อแนวโน้ม Multi-Cloud นี้ให้ได้อย่างง่ายดายที่สุดนั่นเอง

คำว่า Multi-Cloud ในที่นี้จะครอบคลุมทั้งในส่วนของ Application, IT Infrastructure และ Data ที่องค์กรสามารถเลือกใช้บริการแต่ละส่วนจากผู้ให้บริการแต่ละรายแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น บางกรณีอาจมีการจัดเก็บข้อมูลไว้บนบริการ Cloud แห่งหนึ่ง ในขณะที่ตัว Application ที่ผู้ใช้งานต้องใช้งานนั้นอาจอยู่บน Cloud อีกแห่งหนึ่ง ส่วนระบบ IT Infrastructure สำหรับรองรับ Application ที่องค์กรพัฒนาขึ้นมาเองก็อาจอยู่บน Cloud อีกแห่งหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งภาพเหล่านี้ในปัจจุบันเองก็เริ่มมีให้เห็นในบางองค์กรแล้ว และในอนาคตเราจะเห็นภาพลักษณะนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เหล่าองค์กรซึ่งเริ่มมีประสบการณ์ในการเช่าใช้บริการ Cloud แล้ว อาจต้องการใช้บริการอื่นๆ เพิ่มเติม หรือต้องการย้ายบริการบางส่วนออกจากผู้ให้บริการเดิม ไปใช้งานกับผู้ให้บริการรายอื่นแทน หรือบางกรณีก็อาจมีประเด็นด้านกฎหมายที่ทำให้ไม่สามารถย้าย Application ออกไปจากบางประเทศหรือบางภูมิภาคได้ เป็นต้น

แน่นอนว่าในกรณีนี้ โซลูชันที่ดีที่สุดสำหรับทุกๆ องค์กรก็คือ การที่เหล่าองค์กรมีอิสระในการเลือกใช้บริการ Cloud ในแต่ละส่วนที่ตอบโจทย์ต่อธุรกิจมากที่สุด โดยที่ประสิทธิภาพการทำงาน, ประสบการณ์การเข้าใช้งาน, ความมั่นคงปลอดภัยของผู้ใช้งาน ระบบ และข้อมูล ไปจนถึงความทนทานของระบบและข้อมูลยังคงอยู่ในระดับที่องค์กรรับได้

 

Citrix NetScaler: Application Delivery Controller ที่จะมอบอิสระในการเลือกใช้ Cloud ให้กับทุกองค์กร

 

 

ผลิตภัณฑ์หลักที่จะมาตอบโจทย์ด้าน Multi-Cloud จาก Citrix นี้ก็หนีไม่พ้น Citrix NetScaler โซลูชันด้าน Network และ Security จาก Citrix ที่ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถหลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของเหล่าองค์กรได้อย่างยืดหยุ่น ด้วยผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความสามารถดังต่อไปนี้

  • Citrix NetScaler ADC ระบบ Application Delivery Controller ที่มาพร้อมกับความสามารถในการทำ Load Balancing, SSL Offloading และความสามารถด้าน Security ที่หลากหลายในตัว เป็นหัวใจสำคัญสำหรับระบบ Hybrid Cloud และ Multi-Cloud ไปจนถึงการให้บริการ Application ที่มีความสำคัญสูงต่อธุรกิจ และ Application ขนาดใหญ่ในระดับ Cloud-scale
  • Citrix NetScaler Unified Gateway ระบบ Remote Access และ Single Sign-On สำหรับเป็นศูนย์กลางในการรวม Application และ Data ทั้งหมดขององค์กรเอาไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application และ Data ที่ตนเองมีสิทธิ์เข้าถึงได้ด้วยการยืนยันตัวตน, กำหนดสิทธิ์ และควบคุมการเชื่อมต่อใช้งานได้อย่างมั่นคงปลอดภัยสูงสุดจากทุกที่ทุกเวลา ผ่านทางทุกอุปกรณ์
  • Citrix NetScaler AppFirewall ระบบ Web Application Firewall (WAF) สำหรับเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบ Website และบริการต่างๆ จากภัยคุกคามที่หลากหลาย ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความซับซ้อนและรุนแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • Citrix NetScaler Secure Web Gateway ระบบ Gateway ที่มาพร้อมกับความสามารถในการทำ SSL Decryption เพื่อให้ผู้ใช้งานในองค์กรสามารถเข้าถึง Website, Application และบริการ SaaS ต่างๆ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ด้วยความสามารถในการตรวจจับและยับยั้งภัยคุกคามที่พยายามซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังการเข้ารหัสข้อมูล
  • Citrix NetScaler SD-WAN ระบบ Application-aware SD-WAN ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ทนทาน และปลอดภัยในหนึ่งเดียว พร้อมเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ Citrix XenApp และ Citrix XenDesktop ตอบโจทย์การทำงานจากระยะไกลได้เป็นอย่างดี
  • Citrix NetScaler Management and Analytics System ระบบบริหารจัดการโซลูชัน Citrix NetScaler ทั้งหมดได้จากศูนย์กลาง พร้อมเครื่องมือในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย บริหารจัดการ SSL Certification ที่จำเป็นต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายและ Application ทั้งหมดอย่างปลอดภัยได้จากหน้าจอเดียว

 

จับมือกับ Nutanix ตอบโจทย์ระบบ Hyper-converged Infrastructure สำเร็จรูป รองรับ Multi-Cloud ด้วยเทคโนโลยีของ Citrix

 

 

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือความร่วมมือกันระหว่าง Citrix, Nutanix และ M.Tech ในการผสานโซลูชันร่วมกัน เพื่อให้การนำเสนอระบบ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) และ Application Virtualization สามารถเป็นไปได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีฝั่ง Software จาก Citrix ติดตั้งให้ทำงานบนระบบ Virtualization และ Hyper-converged Infrastructure (HCI) จาก Nutanix ได้เลย ทำให้องค์กรสามารถเพิ่มขยาย, เสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มความทนทานให้กับเหล่าระบบงานที่มีความสำคัญเหล่านี้ได้อย่างยืดหยุ่น

ทั้งนี้ด้วยความสามารถของ Nutanix ในการเชื่อมต่อกับบริการ Cloud ต่างๆ และทำการย้าย Image ของ Virtual Machine (VM) ได้อย่างง่ายดาย ก็ทำให้ภาพของการก้าวไปสู่ระบบ Multi-Cloud อย่างเต็มตัวนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ง่ายดายยิ่งขึ้นสำหรับองค์กร

 

สนใจติดต่อ M.Tech ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันของ Citrix หรือโซลูชันอื่นๆ ทางด้าน Security สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการต่างๆ จาก M.Tech ได้โดยตรงที่ https://mtechpro.com/ หรือติดต่อคุณวสันต์ สุริยา Product Manager ได้ที่โทร 089-193-5865 หรืออีเมล์ wasun@mtechpro.com

The post M.Tech กลับมาขาย Citrix อีกครั้ง เตรียมดัน NetScaler ตอบโจทย์ Multi-Cloud สำหรับองค์กร appeared first on TechTalkThai.

Citrix ถูกแฮ็ค ข้อมูลภายใน 6TB อาจถูกเข้าถึง ทาง Citrix กำลังเร่งสอบสวนและแจ้งเตือนลูกค้า

$
0
0

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา Citrix ได้รับแจ้งเตือนจากทาง FBI ถึงการค้นพบว่าระบบ IT ภายใน Citrix นั้นถูกแฮ็ค และข้อมูลทางธุรกิจรวมถึงความลับต่างๆ ภายใน Citrix กว่า 6TB ก็อาจถูกเข้าถึงและขโมยออกไปด้วย

Credit: ShutterStock.com

Resecurity ธุรกิจด้าน Information Security ได้แจ้งเตือน FBI และ Citrix ถึงการค้นพบว่ามีกลุ่ม Hacker ชาวอิหร่านนามว่า IRIDIUM ซึ่งเชื่อว่าได้เข้าถึงข้อมูลของ Citrix ออกไปแล้วมากกว่า 6TB โดยข้อมูลเหล่านี้ประกอบไปด้วยข้อมูลอีเมล์, พิมพ์เขียว และเอกสารอื่นๆ โดยการโจมตีนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2018 ผ่านการ Bypass ระบบ Multi-Factor Authentication เพื่อเจาะเข้าไปในระบบ VPN ของ Citrix และเชื่อว่าการโจมตีในครั้งนี้มีรัฐบาลของบางประเทศหนุนหลังอยู่ โดย Citrix นั้นไม่ใช่เป้าหมายเดียวของ IRIDIUM เพราะที่ผ่านมา IRIDIUM ได้โจมตีหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ไปแล้วมากกว่า 200 แห่ง

ทางด้าน Citrix เองนั้นก็กำลังตรวจสอบเหตุการณ์นี้เป็นการเร่งด่วนอยู่ โดยทาง Citrix ยังไม่แน่ใจนักว่ามีเอกสารใดบ้างที่ถูกเข้าถึงในการโจมตีครั้งนี้ และวิธีการที่ถูกใช้เพื่อเจาะระบบเข้ามาคืออะไร แต่ทาง Citrix ก็เชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้วงที่จำกัด และข้อมูลของลูกค้านั้นอาจไม่ได้ถูกเข้าถึงหรือขโมยออกไปเลยด้วยซ้ำ โดยหลังจากนี้ทาง Citrix เองก็จะคอยอัปเดตลูกค้าของตนเองอย่างสม่ำเสมอเมื่อการสืบสวนคืบหน้า และจะร่วมมือกับ FBI อย่างเต็มที่ในกรณีนี้

กรณีนี้ถือว่าได้รับความสนใจไม่น้อย เนื่องจากธุรกิจองค์กรต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของ Citrix นั้นมักเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือธุรกิจขนาดใหญ่จากหลากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งก็รวมถึงหน่วยงานด้านการทหารและภาครัฐของสหรัฐอเมริกาด้วย

ที่มา: https://www.theregister.co.uk/2019/03/08/citrix_hacked_data_stolen/

The post Citrix ถูกแฮ็ค ข้อมูลภายใน 6TB อาจถูกเข้าถึง ทาง Citrix กำลังเร่งสอบสวนและแจ้งเตือนลูกค้า appeared first on TechTalkThai.

Bitdefender ผสานเทคโนโลยีกับ Nutanix และ Citrix ปกป้องระบบ HCI และ Virtualization แบบไร้รอยต่อ

$
0
0

Bitdefender ผู้นำด้าน Endpoint Security ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 500 ล้านเครื่องใน 150 ประเทศทั่วโลก จับมือกับ Nutanix และ Citrix ผสานรวมเทคโนโลยี GravityZone เข้ากับโซลูชันของผู้ให้บริการทั้งสองอย่างไร้รอยต่อ ปกป้องระบบ Hyper-converged Infrastructure และ Virtualization จากภัยคุกคามขั้นสูงได้ถึงระดับ Hypervisor

Mission-Critical Applications เริ่มใช้ HCI อย่างแพร่หลาย

Hyper-converged Infrastructure (HCI) เป็นระบบโครงสร้างที่ผสานรวมส่วน Compute, Network และ Storage เข้าด้วยกันและปรับแต่งให้ทุกส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดภายในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เดียว ซึ่งทั้งหมดจะถูกควบคุมผ่านซอฟต์แวร์เพื่อลดความซับซ้อนของ Data Center และเพิ่มความสามารถในการขยายระบบในอนาคต HCI ถูกพัฒนาและใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และด้วยความเป็น Data Center ขนาดย่อมที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม ทำให้ HCI เริ่มถูกนำไปใช้ในสำนักงานสาขามากขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบันนี้ มีการเพิ่มฟีเจอร์ Automation และ Machine Learning/Artificial Intelligence เข้าไปบน HCI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความต่อเนื่องในการใช้งาน ทั้งยังช่วยให้บริหารจัดการระบบทั้งหมดได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลให้ HCI ถูกนำมาใช้งานกับ Workload ที่หลากหลาย รวมไปถึงแอปพลิเคชันประเภท Mission-Critical ในขณะที่ Gartner ก็คาดการณ์ไว้ว่า HCI จะถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในแบบ Edge Computing ในอุตสาหกรรมค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิต และ Hybrid Cloud/Multicloud ในอีก 2 ปีข้างหน้านี้

Bitdefender ผสาน GravityZone เข้ากับ Nutanix ปกป้องระบบ HCI อย่างไร้รอยต่อ

เพื่อปกป้องระบบ HCI จากภัยคุกคามไซเบอร์ขั้นสูง Bitdefender ได้นำเสนอโซลูชัน GravityZone ซึ่งเป็นระบบ Endpoint Security ที่ผสานรวมกลไกการป้องกันแบบ Next-generation หลากหลายชั้น ไม่ว่าจะเป็น Tunable Machine Learning, Application Control, Anti-exploit หรือ Network Sandboxing บริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง ช่วยลดความยุ่งยากและยังคงรักษาประสิทธิภาพของระบบ HCI ไว้ให้ได้มากที่สุด

สำหรับผู้ใช้ Nutanix HCI นั้น Bitdefender GravityZone สามารถผสานการทำงานร่วมกับ Acropolis Hypervisor (AHV) ได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย Workload บน HCI เป็นเรื่องง่าย โดย Nutanix Prism จะส่งข้อมูลสภาพแวดล้อมที่ทำงานอยู่ ได้แก่ VM Inventory และ Cluster Hierachy รวมไปถึงข้อมูลการเริ่ม จบ และการเคลื่อนย้าย VM แบบเรียลไทม์ให้แก่ Bitdefender GravityZone ซึ่งจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปตั้งค่า In-guest Security Tools และ Security Server เพื่อสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุมที่สุด นำ License จาก VM ที่เลิกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และจัดทำรายงานให้โดยอัตโนมัติ

Bitdefender GravityZone พร้อมให้บริการผ่าน Calm Marketplace ของ Natunix ซึ่งช่วยให้การติดตั้งแพลตฟอร์มด้านความมั่นคงปลอดภัยกลายเป็นเรื่องง่ายด้วยการกดคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ Nutanix ยังให้บริการ Blueprint สำหรับเป็นคู่มือติดตั้ง Bitdefender GravityZone ภายใต้สภาวะแว้มล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบทดสอบ ระบบจริง หรือระบบที่ใช้ Hypervisor อื่นนอกจาก AHV เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ภายในเวลาไม่นาที

จุดเด่นสำคัญของการใช้ Bitdefender GravityZone บน Nutanix AHV คือ การขจัดปัญหาเรื่องการติดตั้ง Agent ขนาดใหญ่บนแต่ละ VM ซึ่งบริโภคทรัพยากรอย่างมหาศาล โดย Bitdefender GravityZone จะทำการติดตั้ง In-guest Security Tools ขนาดเล็ก และให้ Security Server (SVA) ที่แยกออกมาต่างหากทำหน้าที่สแกนหาภัยคุกคามและจัดการเรื่องอัปเดตต่างๆ แทน ส่งผลให้ลดภาระการทำงานของ CPU และเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองของแอปพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้ว การใช้ Bitdefender GravityZone บน Nutanix AHV จะช่วยเพิ่ม Virtualization Density ขึ้นสูงสุดถึง 35% และลด Latency ของแอปพลิเคชันลงได้สูงสุด 17%

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.bitdefender.co.th/nutanix

การันตีด้วยรางวัล 2018 Nutanix Elevate Partner Award – AHV Innovator

จากการผสานรวมเทคโนโลยีระหว่าง Bitdefender GravityZone และ Nutanix AHV อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ Workload ที่รันบนแพลตฟอร์มของ Nutanix แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ, ทำให้การบริหารจัดการกลายเป็นเรื่องง่าย และการทำงานมีความอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ Bitdefender GravityZone ได้รับรางวัล Nutanix Elevate Partner Award – AHV Innovator ภายในงาน .NEXT 2018 ที่เพิ่งจัดไปเมื่อปีที่ผ่านมา

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nutanix.com/2018/05/30/2018-nutanix-elevate-partner-year-award-winners/

ตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูงบน Citrix ด้วยเทคนิค Hypervior-based Introspection

เช่นเดียวกับ Nutanix HCI โซลูชัน GravityZone ของ Bitdefender สามารถปกป้องระบบ Citrix จากภัยคุกคามไซเบอร์ขั้นสูงได้ถึงระดับ Hypervisor กล่าวคือ ด้วยเทคนิค Hypervisor-based Introspection ของ Bitdefender GravityZone สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์ผ่านการสแกนข้อมูลดิบบนหน่วยความจำของ Guest VM โดยตรงจากในระดับ Hypervisor โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้ง Agent ใดๆ ลงบน Guest VM แต่อย่างใด

ผลิตภัณฑ์ Endpoint Security ทั่วไปต้องอาศัย Signature นับล้านรายการในการตรวจจับภัยคุกคาม แต่ Hypervisor-based Introspection ของ Bitdefender GravityZone นั้นใช้การตรวจสอบหน่วยความจำเพื่อตรวจจับเทคนิคการโจมตีที่แฮ็กเกอร์ใช้ ซึ่งสามารถกระทำได้เฉพาะในระดับ Hypervisor แม้ว่า Signature จะเปลี่ยนไป ก่อให้เกิดเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ แต่เทคนิคที่ใช้มักยังหนีไม่พ้นรูปแบบเดิมๆ เสมอ ส่งผลให้ Hypervisor-based Introspection สามารถตรวจจับการโจมตีแบบ Zero-day ได้เหมือนการโจมตีปกติธรรมดา ที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องคอยอัปเดตฐานข้อมูล Signature อีกด้วย

“กุญแจสำคัญ [ในการตรวจจับ] คือระเบียบวิธีการโจมตี ไม่ใช่ Payload ซึ่ง Hypervisor-based Introspection ไม่สนใจว่าโค้ดอันตรายจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มันสนใจแค่มีการเข้าถึงหน่วยความจำโดยไม่ได้รับอนุญาตเกิดขึ้นหรือไม่” — Dr. Peter Stephenson นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก SC Magazine กล่าว

เทคนิค Hypervisor-based Introspection รองรับการใช้งานร่วมกับ XenServer เวอร์ชัน 7 เป็นต้นไป สามารถตรวจจับภัยคุกคามบนระบบปฏิบัติการ Windows 7, 8, 8.1 และ 10 รวมไปถึง Windows Server และ Linux อย่าง Debian, Ubuntu, CentOS และ Red Hat Enterprise Linux อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.bitdefender.co.th/hypervisor-introspection/

The post Bitdefender ผสานเทคโนโลยีกับ Nutanix และ Citrix ปกป้องระบบ HCI และ Virtualization แบบไร้รอยต่อ appeared first on TechTalkThai.

Citirx ขอเชิญร่วมสัมมนาฟรี Rethink Networking for a Hybrid Cloud World 4 มิ.ย. 2019

$
0
0

Citrix ขอเรียนเชิญเหล่า IT Manager, Cloud Engineer, System Engineer, Network Engineer และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมงานสัมมนาฟรี “Rethink Networking for a Hybrid Cloud World” เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้าน Network, Application Delivery Controller และ SD-WAN สำหรับรับมือกับโลกในยุค Hybrid Cloud และ Multi-Cloud ในวันที่ 4 มิถุนายน 2019 โดยมีรายละเอียด กำหนดการ และวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีดังนี้

Rethink Networking for a Hybrid Cloud World

วันที่ 4 มิถุนายน 2019
เวลา 9.30 – 13.00
สถานที่ Renaissance Bangkok Ratchaprasong Hotel

การมาของ Hybrid Cloud และ Multi-Cloud นั้น ได้ทำให้แนวคิดด้านการจัดการระบบเครือข่ายและ Application Delivery เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลให้เครื่องมือและแนวทางการจัดการเครือข่ายในฝั่ง Data Center นั้นสามารถช่วยให้คุณให้บริการ Application และ Data Center ได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและทนทานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าผู้ใช้งานจะเชื่อมต่อหรือใช้งานจากที่ใดหรือวิธีการใดก็ตาม

สัมมนาครั้งนี้จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้กับเทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ เพื่อให้คุณสามารถเตรียมระบบเครือข่ายให้รองรับต่อโลกของ Hybrid Cloud และ Multi-Cloud ได้ดียิ่งขึ้น

กำหนดการ

09:30 Registration – Sign-in
10:00 – 10:10 Welcoming – Parag Arora, Managing Director – Cloud Networking, Citrix
10:10 – 10:30 Application Delivery in a Hybrid and Multi-Cloud World – Weeradej Panichwisai, Senior Research Manager, IDC APAC
10:30 – 11:00 3 Risk Points to Consider for your Network – Pavin Seejuntra, Senior Networking BDM, Citrix Thailand
11:00 – 11:30 Why Citrix SD-WAN? – Raphael Lee, SD-WAN Business Development Manager, Citrix ASEAN
11:30 – 11:50 Lessons Learned & Case Studies – Roland Roetzer, Principal Networking Engineer, Citrix ASEAN
11:50 – 12:00 Q&A
12:00 Closing Remarks & Lunch

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีๆ ทันที

เนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานจำนวนมากแล้ว ทีมงานขอปิดการลงทะเบียนครับ

The post Citirx ขอเชิญร่วมสัมมนาฟรี Rethink Networking for a Hybrid Cloud World 4 มิ.ย. 2019 appeared first on TechTalkThai.


NSS Labs ออกผลทดสอบ SD-WAN Group Test ประจำปี 2019

$
0
0

NSS Labs บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย ออกรายงานผลการทดสอบ Software–defined WAN (SD-WAN) Group Test ประจำปี 2019 พร้อม Network Value Map (SVM) พบว่าผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบทั้ง 8 รายต่างผ่านการทดสอบในระดับ Recommended ทั้งสิ้น

NSS Labs ให้คำนิยาม SD-WAN ไว้ว่าเป็นการผสาน Software-defined Networking (SDN) เข้าด้วยกันกับ WAN Technology โดย Router, WAN Optimization และ Firewall ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากลิงค์ระดับ Consumer ที่มี Bandwidth สูง (แต่ไม่เสถียร) สำหรับบริการเชิงธุรกิจต่างๆ ในราคาที่ถูกกว่าการแยกลิงค์ออกมาต่างหากแบบสมัยก่อน ส่งผลให้องค์กรส่วนใหญ่เริ่มนำ SD-WAN เข้ามาเพื่อตอบรับความต้องการของสำนักงานสาขา ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน Visibility, Scalability, Performance หรือ Control

สำหรับ SD-WAN Group Test นี้ NSS Labs ได้ทำการประเมิน 4 ประเด็นสำคัญ คือ Quality of Experience (QoE) ของ VoIP และ Video, Performance, Total Cost of Ownership (TCO) และ Security Effectiveness โดยมีผลิตภัณฑ์เข้าร่วมการทดสอบรวม 8 ราย ได้แก่

  • Barracuda Networks Barracuda CloudGen Firewall F82 v7.2.3
  • Citrix Systems Citrix SD-WAN 2100-1000-SE v10.0.0.6
  • Forcepoint NGFW 1101 SMC 6.5.3 and Engine 6.5.2
  • Fortinet FortiGate 61E v6.0.4 GA Build 0231
  • Oracle Talari SD-WAN E1000 v7.3
  • Silver Peak Unity EdgeConnect EC-M VXOA 8.1.7
  • Versa Networks FlexVNF V220 v16.1R2-S6
  • VMware SD-WAN by VeloCloud Edge 2000 v3.2.1

ผลลัพธ์ที่น่าสนใจมีดังนี้

  • ทุกผลิตภัณฑ์ในปีนี้แสดงความสามารถออกความสามารถด้านประสิทธิภาพออกมาได้เป็นอย่างดี โดยผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทางด้าน QoE ของ VoIP และ Video
  • สมัยก่อน Vendor ที่ให้บริการโซลูชัน SD-WAN โดยเฉพาะเป็นผู้ครอบครองตลาด SD-WAN แต่ไม่กี่ปีมานี้ Vendor ด้านความมั่นคงปลอดภัยเริ่มผสานฟีเจอร์ Firewall และ IPS เข้าด้วยกันกับ SD-WAN เพื่อป้องกันการโจมตีระดับ Network มากขึ้น
  • มี 2 ผลิตภัณฑ์ที่เปิดใช้ฟีเจอร์การป้องกันการโจมตีระดับ Network ขณะทำการทดสอบ ซึ่งผลการทำงานของทั้งคู่เทียบเท่าหรือดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่มี (หรือไม่เปิดใช้) ฟีเจอร์ดังกล่าว
  • มีบางผลิตภัณฑ์ที่มีฟีเจอร์การป้องกันการโจมตีระดับ Network แต่ไม่เปิดใช้งาน แนะนำว่าให้ประเมินประสิทธิภาพให้ดีก่อนซื้อใช้
  • โดยเฉลี่ยแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เปิดใช้ฟีเจอร์การป้องกันการโจมตีระดับ Network ขณะทดสอบจะมี TCO ต่อ Mbps ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ
  • ทุกผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบมีอัตราส่วน Performance ต่อ Cost ดีกว่า MPLS หรือการใช้ลิงค์แยกต่างหากทั้งหมด ส่งผลให้กลายเป็นจุดแข็งในการวางระบบ SD-WAN
  • ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบส่วนใหญ่มีความสามารถในการตั้งค่าให้พร้อมใช้งานในสำนักงานสาขาได้ภายใน 10 นาทีต่ออุปกรณ์

รายละเอียดการทดสอบ: 2019 SD-WAN Group Test Methodology
ดาวน์โหลด 2019 SD-WAN Group Test Network Value Map

ที่มา: https://www.nsslabs.com/news/2019/6/18/nss-labs-announces-2019-sd-wan-group-test-results

The post NSS Labs ออกผลทดสอบ SD-WAN Group Test ประจำปี 2019 appeared first on TechTalkThai.

สรุปงานสัมมนา Citrix Rethinking Networking for a Hybrid Cloud World การมาของ Hybrid Cloud จะทำให้ Network และ Security ต้องเปลี่ยนไปอย่างไร

$
0
0

ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ไปร่วมงานสัมมนา Rethinking Networking for a Hybrid Cloud World ที่จัดขึ้นโดย Citrix เพื่ออัปเดตถึงแนวโน้มการมาของ Hybrid Cloud และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการออกแบบระบบเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยในธุรกิจองค์กร พร้อมเล่าถึงโซลูชันใหม่ล่าสุดของ Citrix ทางด้าน Application Delivery Controller, SD-WAN และ Security ที่จะมาช่วยตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆ ในระบบเครือข่ายที่ธุรกิจองค์กรต้องเผชิญ จึงขอหยิบยกนำเนื้อหาต่างๆ มาสรุปดังนี้ครับ

Credit: Citrix

เมื่อ Cloud เปลี่ยนไป Network และ Security ก็ต้องเปลี่ยนตาม

ในงานสัมมนาครั้งนี้ ทีมงาน Citrix ได้เริ่มต้นด้วยการนำตัวเลขสถิติและแนวโน้มของ Workload รูปแบบต่างๆ ในระบบ IT ของธุรกิจองค์กร ที่ชี้ให้เห็นว่าระบบ On-Premises นั้นมีสัดส่วนการใช้งานที่น้อยลงเรื่อยๆ ในขณะที่การใช้งานระบบแบบ Off-Premises และการใช้งานระบบจาก Cloud Provider นั้นเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณ Traffic ภายในระบบเครือข่ายของธุรกิจองค์กรนั้นลดน้อยลง แต่ Traffic ที่เชื่อมต่อออกไปยังภายนอกนั้นสูงขึ้นอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ก็ยังมีการนำเสนอข้อมูลด้านการเติบโตของ Public Cloud ที่จะเติบโตถึง 100% ภายในปี 2021 และ True Private Cloud ที่จะเติบโตสูงถึง 200% ภายในปี 2021 ซึ่งก็ทำให้เราเห็นภาพของการที่ธุรกิจองค์กรต่างๆ นั้นจะต้องใช้งานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ควบคู่กันมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

Credit: Citrix

จากแนวโน้มเหล่านี้ ทำให้ได้ข้อสรุปว่าในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ แนวคิดของ Hybrid-Multi Cloud จะกลายมาเป็นทางเลือกหลักของธุรกิจองค์กร และการออกแบบระบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจองค์กรนั้นก็จะได้รับผลกระทบจากแนวคิดดังกล่าว ส่งผลให้ระบบเครือข่ายนั้นต้องถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองแนวโน้มหลักๆ 3 ประการ ได้แก่

  1. Application Transformation การเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมการออกแบบของระบบ Application สมัยใหม่
  2. Cloud Transitions การย้ายระบบต่างๆ ไปสู่ Cloud และการเลือกใช้บริการ Cloud มากขึ้นในอนาคต
  3. Intelligent and Secure Workspaces การออกแบบระบบเพื่อรองรับการทำงานได้อย่างชาญฉลาดและมั่นคงปลอดภัย

ทางด้าน IDC เองก็ได้ออกมาสรุปถึงประเด็นเหล่านี้ในแนวทางที่สอดคล้องกัน โดย IDC นั้นเชื่อว่าแรงขับเคลื่อนหลักคือการทำ Digital Transformation ของภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในฝั่งของ Data Center เพื่อมาตอบโจทย์รูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดการใช้งาน Cloud และ IoT มากขึ้น ส่งผลย้อนกลับมาให้เหล่าธุรกิจนั้นต้องลงทุนในระบบ IT Infrastructure ทั้งในส่วนของ Compute, Storage และ Network มากขึ้นไปด้วยในช่วงที่ผ่านมา ส่วน Workload ที่จะมีอยู่ในธุรกิจองค์กรนั้น IDC มองว่าสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

  1. Steady-State Workload กลุ่มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เน้นความมั่นคงทนทาน, ความมั่นคงปลอดภัย และความคุ้มค่าในการใช้งาน
  2. Elastic Workload กลุ่มที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและต้องการความยืดหยุ่นเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาใช้งาน
  3. Edge Workload กลุ่มที่ต้องการความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพสูงในระดับ Cloud แต่มี Latency ที่ต่ำและสามารถควบคุมเองได้

ด้วยเหตุนี้ IDC จึงมองว่าระบบ Application Delivery Controller นั้นจึงต้องสามารถใช้งานได้บนทั้ง On-Premises และ Cloud เพื่อรองรับ Workload รูปแบบต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและโยกย้ายอยู่อย่างต่อเนื่องให้ได้ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ IT นั้นยังคงสามารถตรวจสอบการทำงานของ Application และ Network ได้อยู่เสมอในทุกแง่มุม

ทั้งนี้ในมุมของ Citrix เอง ก็ได้มีการปรับให้ Application Delivery Controller สามารถตอบโจทย์ของการควบคุมและจัดการ Software สมัยใหม่และ Cloud ได้ดีขึ้น, การเชื่อมต่อ WAN เข้ากับบริการ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย SD-WAN และการให้บริการ Application และข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและยังคงง่ายดายผ่านโซลูชันด้าน Workspace โดยสำหรับการบริหารจัดการระบบ Application ต่างๆ ที่กระจายอยู่บน Hybrid-Multi Cloud นั้น ก็ตกเป็นหน้าที่ของ Citrix Application Delivery Management หรือ Citrix ADM ไป

สถาปัตยกรรมเบื้องหลัง Application มีความซับซ้อนสูงขึ้น การออกแบบระบบเครือข่ายเพื่อรองรับ Workload ภายใน Data Center จึงต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น

การมาของ Digital Transformation นั้นโดยภาพรวมแล้วก็คือการนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจสูงสุด และแนวคิดนี้เองก็ได้ส่งผลให้สถาปัตยกรรมของระบบ Application นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะการที่ระบบใดๆ จะมีข้อมูลเป็นศูนย์กลางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัวนั้น สถาปัตยกรรมแบบ Monolithic แบบเดิมย่อมไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ Decentralized และ Microservices นั้นได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อ Application สมัยใหม่แทน

Credit: Citrix

หากนึกภาพไม่ออก ลองจินตนาการถึง Mobile Application ที่มีความสามารถหลากหลายดู ความสามารถย่อยต่างๆ ทั้งในส่วนของการอัปโหลดไฟล์, การวิเคราะห์รูปภาพ, การเชื่อมต่อข้อมูลแผนที่ และอื่นๆ อีกมากมายนั้น ต่างก็ถูกออกแบบให้เป็นระบบย่อยภายใน Microservices ทั้งสิ้นเพื่อให้สามารถทำการปรับแต่งแก้ไขและเพิ่มขยายประสิทธิภาพได้อย่างสะดวกโดยไม่เกิด Downtime ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าเบื้องหลังของ Application สมัยใหม่นี้มีความซับซ้อนสูงกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี สำหรับธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ การใช้งาน Application ที่มีสถาปัตยกรรมเบื้องหลังหลากหลายร่วมกันนั้นก็จะกลายเป็นภาพของอนาคตร เพราะ Business Application สำคัญนั้นก็มักเป็นระบบแบบ On-Premises ในขณะที่ระบบ Application บางระบบนั้นก็อาจเลือกใช้ Hybrid-Multi Cloud หรือ Cloud Native ก็ได้ ดังนั้น Application Delivery Controller จึงต้องรองรับการทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้ให้ได้ในหนึ่งเดียว

แนวทางหนึ่งที่ Citrix ได้ทำเพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ก็คือแนวคิด TriScale2 ที่ทำการคิด License ในการใช้งาน Citrix NetScaler ในแบบ Pool แทน ดังนั้นธุรกิจองค์กรจึงสามารถใช้งาน NetScaler Appliance หรือ Instance จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ภายใต้ License กลางชุดเดียว และนับรวม Capacity ในการใช้งานทั้งหมดรวมกัน และโยกย้าย Capacity เหล่านี้ได้ตามต้องการ ทำให้ธุรกิจองค์กรมีอิสระในการเลือกใช้งาน Application บน Platform ที่ต้องการได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ต้องลงทุนใน License เกินความจำเป็น

นอกจากนี้ Citrix เองก็ยังมีระบบ Analytics เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นบน NetScaler ที่กระจัดกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของระบบ IT ในแต่ละธุรกิจองค์กรได้ อีกทั้งยังมี API ชุดเดียวกันทั้งหมดไม่ว่าจะใช้งาน NetScaler บน Platform ใดก็ตาม เพื่อให้ง่ายต่อการทำ Automation ในอนาคตด้วย

Application กระจายอยู่หลากหลายแห่ง องค์กรต้องจัดการทุกการเชื่อมต่อให้มีประสิทธิภาพด้วย SD-WAN

เมื่อฝั่ง Application พร้อมให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าเบื้องหลังจะถูกติดตั้งใช้งานอยู่บน Platform ใดๆ ก็ตามแล้ว โจทย์ถัดมาก็คือการทำให้พนักงานภายในองค์กรนั้นสามารถเชื่อมต่อไปยัง Application ทั้งภายในระบบ On-Premises และบน Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย ซึ่ง SD-WAN ก็คือเทคโนโลยีที่ Citrix นำมาตอบโจทย์นี้นั่นเอง

Credit: Citrix

Citrix นั้นเห็นว่าตลาด SD-WAN กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก และใน Asia-Pacific เองก็มีการทำนายว่า SD-WAN จะเติบโตอย่างรวดเร็วถึง 57.9% ต่อปีโดยเฉลี่ยเลยทีเดียว

Citrix SD-WAN นี้เป็นเทคโนโลยีที่สร้าง Software-Defined Overlay ขึ้นมาครอบชั้นของ WAN ที่มีอยู่เดิม และทำการบริหารจัดการ Bandwidth และความมั่นคงทนทานในการเชื่อมต่อไปยังภายนอกองค์กรหรือต่างสาขาให้มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงที่สุด พร้อมเสริมด้วยเทคโนโลยี WAN Optimization ที่มีอยู่ เร่งประสิทธิภาพการเชื่อมต่อให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่ง

จุดหนึ่งที่น่าสนใจของ Citrix SD-WAN นั้น ก็คือการที่ระบบสามารถเข้าใจถึงเงื่อนไขและประสิทธิภาพการทำงานของ WAN แต่ละแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น MPLS, Internet, LTE, Satellite หรืออื่นๆ ซึ่ง SD-WAN นี้ก็จะทำการตรวจสอบทั้งค่า Latency, Loss, Jitter, Congestion และ Availability ของแต่ละการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา เพื่อนำมาใช้ในการคำนวนและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับ Traffic แต่ละรูปแบบ อีกทั้งยังสามารถทำการ Failover ได้โดยอัตโนมัติหากพบปัญหาเกิดขึ้นในการเชื่อมต่อใดๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานด้วย

นอกจากความสามารถในการตรวจสอบสถานะของ WAN แล้ว Citrix SD-WAN เองก็ยังสามารถจำแนก Application ที่ผู้ใช้งานต้องการเข้าถึงและทำความเข้าใจพฤติกรรมของ Application ได้มากกว่า 4,000 รูปแบบ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการ Optimize เส้นทางของเครือข่ายให้ดีที่สุด หรือทำ QoS เพื่อให้ Application สำคัญของธุรกิจนั้นสามารถถูกเข้าถึงและใช้งานได้อย่างต่อเนื่องลื่นไหลได้

ส่วนการใช้งาน Cloud Application ใดๆ นั้น Citrix SD-WAN เองก็สามารถช่วยให้การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ Cloud แต่ละรายมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นได้ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับ API ของผู้ให้บริการแต่ละรายเพื่อให้การเชื่อมต่อตรงไปยัง Cloud ของผู้ให้บริการแต่ละรายเป็นไปได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น

สำหรับธุรกิจที่มีการใช้งาน Desktop Virtualization หรือ Application Virtualization ผ่านโปรโตคอล ICA นั้น Citrix SD-WAN ก็สามารถทำการวิเคราะห์ Traffic ลงลึกได้ถึงระดับ Application ย่อยของแต่ละผู้ใช้งาน และทำการ Optimize Traffic ได้โดยอัตโนมัติ

ภายใน Citrix SD-WAN นี้ยังมีเทคนิคอีกหลากหลายที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงทนทานในการเชื่อมต่อ Application ต่างๆ อีกมากมาย และด้วยความสามารถที่หลากหลายที่รองรับภายในโซลูชันเดียวนี้ ก็ทำให้ธุรกิจองค์กรต่างๆ สามารถลดการลงทุนในระบบที่สาขาขององค์กรทั้ง WAN Optimizer, Router และ Firewall ให้มาอยู่ภายในระบบเดียวที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดายและไม่ซับซ้อนได้ในตัว

Citrix พร้อมผลักดันการเติบโตในตลาดไทย ด้วยเป้าหมายเดิมคือ “การทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้งาน Application ได้อย่างมีรวดเร็ว, ง่ายดาย และมั่นคงปลอดภัย”

นอกเหนือจากสองผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว Citrix เองก็ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมายที่ตั้งเป้าจะขยายตลาดในไทย ไม่ว่าจะเป็น Citrix Workspace ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมของระบบ Desktop Virtualization และ Application Virtualization ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วยประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมและยังคงมีความมั่นคงปลอดภัยที่สูงอยู่, Citrix ShareFile สำหรับการแบ่งปันข้อมูลไฟล์งานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้จากทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์อย่างปลอดภัย หรือ Citrix Endpoint Management ที่สามารถบริหารจัดการทั้ง Desktop, Notebook, Mobile และ IoT Device จากศูนย์กลางได้

หลักสำคัญของ Citrix ประการหนึ่งก็คือในทุกๆ ผลิตภัณฑ์นั้น ความมั่นคงปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ Citrix จะไม่มองข้าม เพื่อให้เหล่าธุรกิจองค์กรได้นำโซลูชันของ Citrix ไปใช้งานได้อย่างมั่นใจนั่นเอง

ติดต่อทีมงาน Citrix ได้ทันที

ผู้ที่สนใจในโซลูชันด้านระบบ Application Delivery Controller, SD-WAN, Security, Single Sign-On หรือ Digital Workspace สามารถติดต่อทีมงาน Citrix เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม, นัดเพื่อเข้าไปนำเสนอโซลูชัน หรือขอใบเสนอราคาได้ที่คุณ Narisara Wongchanteuk (Mai) narisara.wongchanteuk@citrix.com หรือโทร 063-923-9936

The post สรุปงานสัมมนา Citrix Rethinking Networking for a Hybrid Cloud World การมาของ Hybrid Cloud จะทำให้ Network และ Security ต้องเปลี่ยนไปอย่างไร appeared first on TechTalkThai.

Gartner ออก Magic Quadrant ด้าน SD-WAN ผล VMware, Silver Peak ครองผู้นำ

$
0
0

Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ ออกรายงาน Magic Quadrant ทางด้าน WAN Edge Infrastructure หรือที่รู้จักกันในนามโซลูชัน SD-WAN ฉบับล่าสุดประจำปี 2019 ผลปรากฏว่า VMware และ Silver Peak ครองตำแหน่ง Leader ตามมาด้วย Fortinet, Cisco, Citrix และ Huawei ในตำแหน่ง Challenger

Gartner คาดการณ์ว่า ภายในปี 2021 มากกว่า 80% ของโซลูชัน SD-WAN จะนำเสนอในรูปของฮาร์ดแวร์แยกต่างหาก แทนที่จะเป็น Universal Customer Premises Equipment (uCPE) เนื่องจากความต้องการด้านประสิทธิภาพล ความง่ายในการบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายที่ลดลง และในปี 2024 องค์กร 60% จะใช้งาน SD-WAN เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและรองรับการใช้ Cloud Applications เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้น้อยกว่า 20%

Gartner ได้ให้นิยาม WAN Edge Infrastructure ว่าเป็นโซลูชันที่ให้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายจากองค์กรที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ (สำนักงานสาขา) ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรทั้งที่อยู่ใน Private และ Public Data Centers รวมไปถึงระบบ Cloud ได้ ไม่ว่าจะผ่านทาง IaaS หรือ SaaS ตลาดนี้ได้พัฒนาต่อยอดจาก Traditional Branch Router (หรือ Customer Edge Router) ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชัน Routing, Security และ WAN Optimization ไปสู่โซลูชัน Software-defined WAN (SD-WAN) โดยเพิ่มความสามารถด้าน Application Aware Path Selection บนหลายๆ ลิงค์, Centrailize Orchestration, Native Security และฟังก์ชันอื่นๆ เข้าไปเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบันมากขึ้น

สำหรับการจัดอันดับบน Magic Quadrant ทางด้าน WAN Edge Infrastructure ล่าสุดในปี 2019 นี้ พบว่า VMware ครองตำแหน่ง Leader โดยเป็นที่ 1 ทั้งทางด้าน Ability of Execute และ Completeness of Vision ตามมาด้วย Silver Peak ในกลุ่มเดียวกัน ในขณะที่ Fortinet, Cisco, Citrix และ Huawei ครองตำแหน่ง Challenger โดยมี Fortinet เป็นผู้นำในกลุ่ม

Gartner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโซลูชัน SD-WAN ของ VMware ว่าเป็นโซลูชันที่สามารถเลือกรูปแบบการติดตั้งได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Physical หรือ Virtual โดยมาพร้อมกับ Cloud Gateway และ Orchestration เป็นออปชันเสริม จนถึงตอนนี้ได้ถูกติดตั้งใช้งานบนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากกว่า 1,000 ไซต์ หลายไซต์จัดได้ว่าเป็นการใช้งาน SD-WAN ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้จากช่องทางของ Fortinet ที่: https://www.fortinet.com/solutions/gartner-wan-edge.html

The post Gartner ออก Magic Quadrant ด้าน SD-WAN ผล VMware, Silver Peak ครองผู้นำ appeared first on TechTalkThai.

เตือนพบช่องโหว่ร้ายแรงบน Citrix NetScaler ADC และ Gateway ยังไม่มีแพตช์ ปฏิบัติตามคำแนะนำด่วน

$
0
0

มีการค้นพบช่องโหว่ร้ายแรงบนผลิตภัณฑ์ Citrix Application Delivery Controller (NetScaler ADC) และ Citrix Gateway (NetScaler Gateway) ทำให้คนร้ายสามารถเข้าถึงเครือข่ายภายในขององค์กรได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนและเข้ามาลอบรันโค้ดได้

Credit: ShutterStock.com

ช่องโหว่ที่ค้นพบมีหมายเลขอ้างอิงคือ CVE-2019-19781 ถูกเปิดเผยโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Positive Technologies โดยผลกระทบเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ Citrix ตามรูปด้านบน อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่มีแพตช์ออกมา มีเพียงแต่ Advisory ที่แนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบหรือองค์กรกว่า 80,000 รายใน 153 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีกว่าอุปกรณ์ระดับนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในองค์กร ซึ่งผู้ดูแลควรตรวจสอบตัวเองด้วยครับ เพราะการใช้งานช่องโหว่นั้นไม่ยากเลยและอาจถูกติดอาวุธให้กลุ่มแฮ็กเกอร์ในเร็ววันนี้

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/security/critical-citrix-flaw-may-expose-thousands-of-firms-to-attacks/ และ  https://www.darkreading.com/vulnerabilities—threats/citrix-urges-firms-to-harden-configurations-after-flaw-report/d/d-id/1336695

The post เตือนพบช่องโหว่ร้ายแรงบน Citrix NetScaler ADC และ Gateway ยังไม่มีแพตช์ ปฏิบัติตามคำแนะนำด่วน appeared first on TechTalkThai.

ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังการถูกโจมตีช่องโหว่ร้ายแรงบน Citrix ADC และ Gateway

$
0
0

ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนถึงการโจมตีช่องโหว่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ Citrix ADC และ Gateway หมายเลข CVE-2019-19781 ที่ถูกเปิดเผยเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน หลังพบการสแกนช่องโหว่แล้ว

Credit: ShutterStock.com

ช่องโหว่ CVE-2019-19781 ทำให้คนร้ายที่ไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนสามารถเข้าถึงเครือข่ายและลอบรันโค้ดได้ (ติดตามข่าวเก่าได้จาก TechTalkThai) อย่างไรก็ตามแม้จะผ่านไปกว่า 2 สัปดาห์แล้วแต่ก็ยังไม่มีแพตช์ออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้องค์กรกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงของช่องโหว่ร้ายแรงแต่ก็มีข้อแนะนำออกมาแล้ว ดังนั้นจึงขอให้ผู้ดูแลทุกท่านปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สำหรับช่องโหว่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ตามรูปด้านบน 

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/security/attackers-are-scanning-for-vulnerable-citrix-servers-secure-now/

The post ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังการถูกโจมตีช่องโหว่ร้ายแรงบน Citrix ADC และ Gateway appeared first on TechTalkThai.

เตือนพบโค้ดสาธิตช่องโหว่ Citrix ว่อนเน็ตแล้ว คาดใช้ง่ายและยังไม่มีแพตช์ออกมา

$
0
0

สถานการณ์ช่องโหว่บนอุปกรณ์ Citrix ADC และ Gateway ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญเริ่มทยอยปล่อยของชี้โพรงกันออกมา

Credit: ShutterStock.com

ช่องโหว่ CVE-2019-19781 ถูกแจ้งเตือนมาราว 1 เดือนแล้วที่เกิดกับผลิตภัณฑ์ Citrix ADC และ Gateway และเมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีผู้เชี่ยวชาญแจ้งเตือนว่าพบการสแกนอุปกรณ์ จนกระทั่งวันนี้มีข่าวการทยอยเปิดเผยโค้ดสาธิตการใช้งานออกมา จนกระทั่งบัดนี้ยังไม่มีแพตช์อย่างเป็นทางการมีเพียงแต่เตือนให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำเพื่อบรรเทาปัญหาเท่านั้น

โดยผู้เชี่ยวชาญที่ออกมาเปิดเผยโค้ดสาธิตช่องโหว่คือ Project Zero India บน GitHub นอกจากนี้ยังมี TrustedSec ที่ตอนแรกจะรอให้แพตช์ออกมาก่อนแต่ไม่ทันเสียแล้ว แต่ TrustedSec ยังได้เขียนวิธีการตรวจสอบเพื่อสืบสวนด้วยว่าโดนแฮ็กไปหรือยัง ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเชื่อว่าช่องโหว่ CVE-2019-19781 ถูกใช้ได้ง่ายเพียงโค้ดแค่ไม่กี่บรรทัด

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/proof-of-concept-code-published-for-citrix-bug-as-attacks-intensify/

The post เตือนพบโค้ดสาธิตช่องโหว่ Citrix ว่อนเน็ตแล้ว คาดใช้ง่ายและยังไม่มีแพตช์ออกมา appeared first on TechTalkThai.

Citrix ประกาศออกแพตช์ช่องโหว่ร้ายแรงให้ ADC แล้ว แนะผู้ใช้เร่งอัปเดต

$
0
0

หลังจากตกเป็นข่าวมาระยะหนึ่งสำหรับช่องโหว่ร้ายแรงของ Citrix ADC และ Gateway ล่าสุดมีการประกาศออกแพตช์แล้ว จึงแนะนำให้ผู้ใช้เร่งอัปเดตครับ

credit : bleepingcomputer

ช่องโหว่หมายเลข CVE-2019-19781 ถูกเปิดเผยมาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีก่อน โดยทำให้คนร้ายที่ไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนสามารถเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรได้ ซึ่งถูกจัดว่าเป็นช่องโหว่ร้ายแรงและน่ากังวลจนสื่อ หน่วยงานรัฐบาล และผู้เชี่ยวชาญได้ติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ก็มีการค้นพบความพยายามสแกนหาอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่และโค้ด PoC ออกมาแล้วด้วย 

ล่าสุดถือเป็นข่าวดีเพราะในที่สุดก็มีการออกแพตช์ให้ ADC คือเวอร์ชัน 11.1 สามารถอัปเดตได้เป็น 11.1.63.15 และเวอร์ชัน 12.0 อัปเดตเป็น 12.0.63.13 ในขณะที่แพตช์ส่วนอื่นๆ กำลังทยอยออกมาภายในวันที่ 24 นี้ ตามตารางด้านบน

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/security/citrix-patches-cve-2019-19781-flaw-in-citrix-adc-111-and-120/

The post Citrix ประกาศออกแพตช์ช่องโหว่ร้ายแรงให้ ADC แล้ว แนะผู้ใช้เร่งอัปเดต appeared first on TechTalkThai.


รับมือ COVID-19 ด้วย Work from Home Solution จาก AMR Asia

$
0
0

ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ขยายตัวเป็นวงกว้างขึ้น บังคับให้องค์กรออกนโยบาย Work from Home ในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต้องมีการกักตัวพนักงานที่มีโอกาสเสี่ยงถึง 14 วัน รวมถึงเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ต้องปิดทำการชั่วคราว มีแนวโน้มขยายเป็นวงกว้างขึ้น

Virtual Desktop & Virtual Application

ให้พนักงานใช้งาน Data, Desktop และ Applications ทุกชนิดในบริษัทได้จากที่บ้าน ได้จากอุปกรณ์ทุกชนิด ทั้ง Mac, Windows, iOS, Android ผ่าน Web Browser ผ่าน Wi-Fi หรือ 3G/4G จากที่บ้าน หรือนอกสถานที่

Enterprise File Collaboration

ส่ง-เปิด-แก้ ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันได้จากอุปกรณ์อะไรก็ได้ พร้อมให้พนักงาน Collaborate ไฟล์งานทุกชนิด ทุกขนาดให้เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน พาร์ทเนอร์ และลูกค้าได้ทุกเวลา แถมแก้ไขไฟล์ MS Office โดยไม่ต้องดาวน์โหลดและส่งต่อได้ทันที ตั้งเป็น Personal หรือ Shared Folders ก็ได้ตามกลุ่มทำงาน ตั้งเงื่อนไขฝั่งผู้รับได้ตามต้องการ เพื่อความปลอดภัย ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างมั่นคงปลอดภัยบนเซิร์ฟเวอร์

Voice & Video Collaboration for Business

รับสาย โทรออก หรือประชุมได้ทันทีจากทุกอุปกรณ์ เงียบสงัดแม้อยู่บ้านหรือนอกสถานที่ จะโทรหาลูกค้าจากมือถือ ไอพีโฟน หรือกดโทรออกโดยตรงจาก CRM จะเรียกประชุมงาน Voice/Video Conference ภายในหรือรับสายเจ้านายก็ไร้อุปสรรค แถมเงียบกริบพร้อมเทคโนโลยีตัดเสียงรบกวนขึ้นสูง

AMR มีโปรโมชัน Work from Home มานำเสนอ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

สนใจ Solution ติดต่อ AMR Asia

💻 Email: itsales@amrasia.com
✉ Inbox: https://www.facebook.com/amrasia/
💻 Twitter: https://twitter.com/amrdigitalmkt
📷 IG: https://www.instagram.com/amr_asia/
📱 Line Official Account: @amrasia
📞 Tel: 0946564497, 0819449194

The post รับมือ COVID-19 ด้วย Work from Home Solution จาก AMR Asia appeared first on TechTalkThai.

AMR | Citrix Webinar: The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร

$
0
0

AMR ร่วมกับ Citrix ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร” รวมไปถึงแชร์กรณีศึกษาของบริษัทชั้นนำในการเตรียมระบบ IT ให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตและบรรทัดฐานใหม่ ในวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2020 เวลา 10:30 – 12:00 น. ผ่าน Live Webinar ฟรี

พิเศษต่อที่ 1 50 ท่านแรกที่ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานสัมมนาตั้งแต่ต้นจนจบ รับทันทีเสื้อ Warrix ลิขสิทธิ์แท้ (50 รางวัล)
พิเศษต่อที่ 2 ร่วมสัมมนาและตอบแบบสอบถามภายในงาน ลุ้นรับเครื่องชงกาแฟ Nescafe Dolce Gusto Mini Me มูลค่า 4,490 บาทจำนวน 1 รางวัล และ Netflix Card มูลค่า 500 บาท จำนวน 4 รางวัล

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร
ผู้บรรยาย: ผู้เชี่ยวชาญจาก AMR Asia & Citrix (Thailand)
วันเวลา: วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2020 เวลา 10:30 – 12:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน
ภาษา: ไทย
ลิงค์ลงทะเบียน: https://zoom.us/webinar/register/WN_E1NoJv3kSKuvPS350DhmWw

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยประสบทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด หลายองค์กรต่างต้องปิดกิจการจนเกิดความเสียหายต่อธุรกิจมากมาย พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชนยังไม่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันเหล่านี้ ล่าสุด การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางอุตสาหกรรม, พฤติกรรมของผู้บริโภค, โมเดลธุรกิจ และความน่าดึงดูดของตลาดครั้งใหญ่ไปทั่วทั้งโลก รวมไปถึงประเทศไทย

ฝ่าย IT มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรองรับและสนับสนุนนโยบายทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องปรับตัวให้ระบบ IT มีความยืดหยุ่น (Flexible) และมีประสิทธิภาพสูง (High Performance) รวมไปถึงมีพื้นที่ทำงานแบบ Digital Workplace สำหรับให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ผ่านอุปกรณ์ที่พนักงานมีอยู่ทุกชนิด เสมือนนั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิส ในขณะที่ฝ่าย IT ต้องสามารถควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลองค์กรได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ภายใน Webinar นี้ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • 10 เทรนด์พฤติกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศไทย?
  • Bucket List สิ่งที่ฝ่าย IT จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ
  • กรณีศึกษาของบริษัทชั้นนำในการเตรียมระบบ IT สำหรับรับมือกับฐานวิถีชีวิตและบรรทัดฐานใหม่
  • ตัวช่วยที่จะให้ฝ่าย IT รับมือกับ The Next New Normal ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กด Interested หรือ Going เพื่อติดตามอัปเดตและรับการแจ้งเตือนบน Facebook Event: https://www.facebook.com/events/1309722585891396/

The post AMR | Citrix Webinar: The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร appeared first on TechTalkThai.

[Video Webinar] The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไรโดย AMR Asia และ Citrix

$
0
0

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย AMR | Citrix Webinar เรื่อง “The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร” รวมไปถึงแชร์กรณีศึกษาของบริษัทชั้นนำในการเตรียมระบบ IT ให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตและบรรทัดฐานใหม่ ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

ผู้บรรยาย: คุณ Matus Limnontakul, Business Development Manager จาก AMR Asia

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยประสบทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด หลายองค์กรต่างต้องปิดกิจการจนเกิดความเสียหายต่อธุรกิจมากมาย พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชนยังไม่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันเหล่านี้ ล่าสุด การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางอุตสาหกรรม, พฤติกรรมของผู้บริโภค, โมเดลธุรกิจ และความน่าดึงดูดของตลาดครั้งใหญ่ไปทั่วทั้งโลก รวมไปถึงประเทศไทย

ฝ่าย IT มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรองรับและสนับสนุนนโยบายทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องปรับตัวให้ระบบ IT มีความยืดหยุ่น (Flexible) และมีประสิทธิภาพสูง (High Performance) รวมไปถึงมีพื้นที่ทำงานแบบ Digital Workplace สำหรับให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ผ่านอุปกรณ์ที่พนักงานมีอยู่ทุกชนิด เสมือนนั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิส ในขณะที่ฝ่าย IT ต้องสามารถควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลองค์กรได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ภายใน Webinar นี้ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • 10 เทรนด์พฤติกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศไทย?
  • Bucket List สิ่งที่ฝ่าย IT จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ
  • กรณีศึกษาของบริษัทชั้นนำในการเตรียมระบบ IT สำหรับรับมือกับฐานวิถีชีวิตและบรรทัดฐานใหม่
  • ตัวช่วยที่จะให้ฝ่าย IT รับมือกับ The Next New Normal ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

The post [Video Webinar] The Next New Normal – คุณวางแผนรับมือภัยพิบัติและโรคระบาด พร้อมพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไรโดย AMR Asia และ Citrix appeared first on TechTalkThai.

ทำ Work from Home ให้เป็นเรื่องง่ายและมั่นคงปลอดภัย ด้วยบริการ VDI by CSL

$
0
0

การทำงานจากภายนอกสถานที่หรือ Work from Home กลายเป็นวิถีการทำงานใหม่ (New Normal) ของหลายองค์กรทั่วโลก เพื่อให้การ Work from Home เป็นเรื่องง่าย ทำงานได้อย่างมั่นคงปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลจะรั่วไหล และยังคุ้มค่าต้องการลงทุน CSL จึงเปิดให้บริการ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) by CSL ซึ่งสนับสนุนโดยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่าง HPE SimpliVity และ Citrix Virtual Apps and Desktops ภายใต้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของ CSL โดยเริ่มต้นใช้งานขั้นต่ำเพียง 100 ผู้ใช้เท่านั้น

โปรโมชันพิเศษ!! ซื้อ VDI by CSL รับฟรี พื้นที่ Colocation* สำหรับวางระบบ VDI เป็นเวลา 1 ปี

การทำงานจากภายนอกสถานที่ – วิถีการทำงานใหม่ของหลายองค์กรทั่วโลก

ภายใต้สถานการณ์ที่เชื้อ COVID-19 กำลังแพร่ระบาดทั้งยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกันอย่างในขณะนี้ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เป็นมาตรการสำคัญที่สาธารณสุขทั่วโลกต่างให้การยอมรับว่าช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการแพร่ระบาดของโรคได้ ส่งผลให้หลายบริษัททั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทย สนับสนุนให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือ Work from Home เพื่อหลีกเลี่ยงการพบเจอหรือสัมผัสกับกลุ่มคนหมู่มาก ในขณะที่ยังทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ สอดคล้องกับกับการสำรวจด้าน HR ของ Gartner ซึ่งระบุว่า 88% ขององค์กรสนับสนุนหรือกำหนดให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ภายใต้สถานการณ์ที่ผิดปกติแบบนี้

แน่นอนว่าหัวใจสำคัญของการ Work from Home คือ “การนำงานกลับไปทำที่บ้านได้” ซึ่งในโลกยุคดิจิทัลนี้คงหนีไม่พ้นการนำ Laptop บริษัทกลับบ้าน หรือใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้านเชื่อมต่อกลับมายังระบบของบริษัทผ่าน VPN หรือ Cloud เมื่ออุปกรณ์จำนวนมากของบริษัทกระจายออกไปสู่ภายนอกองค์กร ย่อมยากต่อการบริหารจัดการและดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์หรืออัปเดตแพตช์ ที่สำคัญคือ พนักงานจำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลลง Laptop หรือดาวน์โหลดไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้านเพื่อใช้งาน อาจเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลจะสูญหายหรือรั่วไหลสู่สาธารณะได้

VPN vs. VDI

แม้ระบบประสานงานกันภายในทีม (Collaboration Tools) อย่าง Microsoft Teams, Cisco Webex หรือ Zoom จะถูกนำมาใช้สำหรับประชุมออนไลน์ แชต แชร์ไฟล์ข้อมูล หรือโทรหากัน อย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วงนี้ แต่ก็ช่วยตอบโจทย์เรื่องการทำงานร่วมกันเท่านั้น การเข้าถึงแอปพลิเคชันธุรกิจและข้อมูลของบริษัทซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานยังคงต้องอาศัยเทคโนโลยีอย่าง Virtual Private Network (VPN) หรือ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)

เทคโนโลยี VPN ช่วยให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อกลับมายังระบบของบริษัทผ่านเครือข่ายส่วนบุคคลเพื่อเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เมื่อต้องทำงานกับข้อมูล ส่วนใหญ่จำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์มาไว้ที่เครื่องก่อน ค่อยทำการประมวลผล แล้วส่งไฟล์กลับคืนไป เมื่อมีการประมวลผลบนเครื่อง จึงจำเป็นต้องมี Laptop/PC ที่มีประสิทธิภาพสูงตามประเภทของงาน และต้องมีลิงค์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับรับส่งข้อมูลด้วยเช่นกัน แต่ VPN ก็มีข้อดีตรงที่เริ่มใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนสูง เพียงแค่เปิดใช้งาน VPN บน Firewall หรืออุปกรณ์เครือข่าย (ซึ่งปัจจุบันมีพร้อมให้ใช้บริการอยู่แล้ว) และติดตั้ง VPN Client ลงบน Laptop/PC เท่านั้น

ในขณะที่ VDI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประยุกต์นำการทำ Virtualization มาใช้กับ Desktop เพื่อแชร์ให้พนักงานใช้ระบบปฏิบัติและซอฟต์แวร์จากระยะไกลได้บนฮาร์ดแวร์เดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและสามารถใช้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญคือคอมพิวเตอร์ปลายทางทำหน้าที่แสดงผลและส่ง Input เท่านั้น จึงใช้ผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลาย รวมไปถึงสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ทั้งยังไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลมาเก็บไว้ เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลจะเกิดขึ้นที่ Data Center ลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลสู่ภายนอก ช่วยตอบโจทย์เรื่องการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะบังคับใช้ในปีหน้าอีกด้วย

ทำ Work from Home ให้เป็นเรื่องง่ายด้วยบริการ VDI by CSL

เพื่อให้การ Work from Home เป็นเรื่องง่าย พนักงานสามารถทำงานได้เหมือนนั่งอยู่ที่ออฟฟิสของตนเอง ทั้งยังคงความมั่นคงปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลจะรั่วไหล โดยที่ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการและดูแลระบบได้จากศูนย์กลาง CSL ผู้ให้บริการ Data Center, ระบบ Cloud และ ICT Services แบบครบวงจร จึงเปิดให้บริการ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) by CSL โดยมีจุดเด่นที่การใช้เทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่าง HPE SimpliVity และ Citrix Virtual Apps and Desktops ภายใต้ Cloud Infrastructure ของ CSL ที่มีความพร้อมใช้งาน (Availability) ระดับ 99.99%

VDI by CSL ช่วยรวมศูนย์การบริหารจัดการ Desktop ไว้ยังส่วนกลาง (Data Center) ทำให้สามารถควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึง กำหนดนโยบายการสำรองข้อมูล อัปเดตแพตช์และเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ได้อย่างอัตโนมัติจากศูนย์กลาง รองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ Bring Your Own Device (BYOD) ของพนักงานเอง ช่วยให้การ Work from Home ทำได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ VPN ให้ยุ่งยาก ที่สำคัญคือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่อง Software License ที่จะคิดตามจำนวนที่ใช้จริง ณ เวลานั้นๆ แทนที่จะคิดตามจำนวนอุปกรณ์ของพนักงาน

นอกจากนี้ CSL ยังให้บริการเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการ Work from Home อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น VPN, Office 365, 4G/5G, AIS Fiber และระบบประสานงานกันภายในทีม (Collaboration Tools) เป็นต้น

VDI by CSL บนระบบ HPE SimpliVity

ก่อนหน้านี้โซลูชัน VDI เข้าถึงได้ยากเพราะต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย ส่งผลให้มีราคาสูงและประสิทธิภาพไม่ดีนัก แต่ VDI by CSL เป็นโซลูชันที่ทำงานบน HPE SimpliVity ซึ่งเป็นระบบ Hyperconverged Infrastructure ของ HPE ที่รวมส่วน Compute, Storage และ Network เข้าด้วยกัน ลดการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์ลง ทั้งยังมีโซลูชันการสำรองและกู้คืนข้อมูลความเร็วสูงมาให้พร้อมใช้งาน หมดกังวลเรื่องการถูก Ransomware โจมตี

นอกจากนี้ HPE SimpliVity ยังมีซอฟต์แวร์ Business Continuity Plan (BCP) สำหรับทำ Disaster Recovery โดยใช้เทคโนโลยี WAN Optimization ระหว่าง Data Center และ DR Site ช่วยให้การรับส่งข้อมูลทำได้เร็วขึ้น ลดปริมาณแบนด์วิดท์ที่ต้องใช้ลง

เริ่มต้นใช้ VDI by CSL ขั้นต่ำเพียง 100 ผู้ใช้เท่านั้น

VDI by CSL เป็นโซลูชันที่ Virtual Desktop Infrastructure ที่ถูกออกแบบมาให้รองรับความต้องการของวิถีการทำงานใหม่ (New Normal) สนับสนุนโดยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่าง Citrix Virtual Apps and Desktops สำหรับให้พนักงานเชื่อมต่อมายังระบบ Cloud จากระยะไกลได้อย่างมั่นคงปลอดภัย พร้อมมีแอปพลิเคชันต่างๆ รองรับการทำงาน และใช้งานบน HPE SimpliVity ซึ่งเป็นระบบ HCI ประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ CSL ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญสำหรับช่วยติดตั้งและวางระบบ VDI พร้อมสนับสนุนหลังการขายด้วย MA นานถึง 3 ปี หมดกังวลเรื่องอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีปัญหาหรือซอฟต์แวร์ไม่อัปเดต โดยเริ่มต้นการใช้งานขั้นต่ำที่ 100 ผู้ใช้เท่านั้น

ลูกค้าสามารถเลือกติดตั้งระบบ VDI ที่ไซต์ของลูกค้าเองหรือที่ Colocation ภายใน Data Center ของ CSL เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ขนาดใหญ่ของ CSL และลดปัญหาเรื่องระบบ VDI หยุดชะงักการให้บริการด้วยระบบไฟฟ้าของ Data Center ที่ถูกออกแบบมาเป็นระบบ Redundancy ครบวงจร

โปรโมชั่นพิเศษ!! ซื้อ VDI by CSL รับฟรี พื้นที่ Colocation* สำหรับวางระบบ VDI เป็นเวลา 1 ปี

* บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการกำหนดพื้นที่ให้ตามความเหมาะสม

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยติดต่อผ่านทางอีเมล presales@csl.co.th หรือโทร 02-263-8185

“Enhance agility of new normal with CSL digital transformation Solution”

The post ทำ Work from Home ให้เป็นเรื่องง่ายและมั่นคงปลอดภัย ด้วยบริการ VDI by CSL appeared first on TechTalkThai.

Citrix ออกแพตช์ 11 รายการให้ ADC, Gateway และ SD-WAN แนะผู้ใช้เร่งอัปเดต

$
0
0

มีแพตช์ใหม่จาก Citrix จำนวน 11 รายการ ที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ ADC, Gateway และ SD-WAN WANOP (Appliance โมเดล 4000-WO, 4100-WO, 5000-WO และ 5100-WO) ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ผู้ใช้งานเร่งอัปเดต

ช่องโหว่ทั้ง 11 รายการมีดังนี้

CVE IDVulnerability TypeAffected ProductsAttacker PrivilegesPre-conditions
CVE-2019-18177Information disclosureCitrix ADC, Citrix GatewayAuthenticated VPN userRequires a configured SSL VPN endpoint
CVE-2020-8187Denial of serviceCitrix ADC, Citrix Gateway 12.0 and 11.1 onlyUnauthenticated remote userRequires a configured SSL VPN or AAA endpoint
CVE-2020-8190Local elevation of privilegesCitrix ADC, Citrix GatewayAuthenticated user on the NSIPThis issue cannot be exploited directly. An attacker must first obtain nobody privileges using another exploit
CVE-2020-8191Reflected Cross Site Scripting (XSS)Citrix ADC, Citrix Gateway, Citrix SDWAN WANOPUnauthenticated remote userRequires a victim who must open an attacker-controlled link in the browser while being on a network with connectivity to the NSIP
CVE-2020-8193Authorization bypassCitrix ADC, Citrix Gateway, Citrix SDWAN WANOPUnauthenticated user with access to the NSIPAttacker must be able to access the NSIP
CVE-2020-8194Code InjectionCitrix ADC, Citrix Gateway, Citrix SDWAN WANOPUnauthenticated remote userRequires a victim who must download and execute a malicious binary from the NSIP
CVE-2020-8195Information disclosureCitrix ADC, Citrix Gateway, Citrix SDWAN WANOPAuthenticated user on the NSIP
CVE-2020-8196Information disclosureCitrix ADC, Citrix Gateway, Citrix SDWAN WANOPAuthenticated user on the NSIP
CVE-2020-8197Elevation of privilegesCitrix ADC, Citrix GatewayAuthenticated user on the NSIP
CVE-2020-8198Stored Cross Site Scripting (XSS)Citrix ADC, Citrix Gateway, Citrix SDWAN WANOPUnauthenticated remote userRequires a victim who must be logged in as an administrator (nsroot) on the NSIP
CVE-2020-8199Local elevation of privilegesCitrix Gateway Plug-in for LinuxLocal user on the Linux computer running Citrix Gateway Plug-inA pre-installed version of Citrix Gateway Plug-in for Linux must be running

ทั้งนี้หากคนร้ายโจมตีช่องโหว่ได้สำเร็จอาจจะนำไปสู่การแทรกแซงระบบได้ แม้ว่ายังไม่พบการโจมตีในช่องโหว่ดังกล่าวแต่ Citrix ก็แนะนำให้ผู้ใช้งานตามอัปเดตกันครับ โดยการอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดดังนี้

Citrix ADC and Citrix Gateway 13.0-58.30 and later releases

  • Citrix ADC and NetScaler Gateway 12.1-57.18 and later 12.1 releases
  • Citrix ADC and NetScaler Gateway 12.0-63.21 and later 12.0 releases
  • Citrix ADC and NetScaler Gateway 11.1-64.14 and later 11.1 releases
  • NetScaler ADC and NetScaler Gateway 10.5-70.18 and later 10.5 releases
  • Citrix SD-WAN WANOP 11.1.1a and later releases
  • Citrix SD-WAN WANOP 11.0.3d and later 11.0 releases
  • Citrix SD-WAN WANOP 10.2.7 and later 10.2 releases
  • Citrix Gateway Plug-in for Linux 1.0.0.137 and later versions

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/security/citrix-fixes-11-flaws-in-adc-gateway-and-sd-wan-wanop-appliances/

The post Citrix ออกแพตช์ 11 รายการให้ ADC, Gateway และ SD-WAN แนะผู้ใช้เร่งอัปเดต appeared first on TechTalkThai.

Viewing all 69 articles
Browse latest View live